อยากลดไขมันต้องขยัน 💩💩💩
ไม่ผิดหรอกค่ะ นี่ก็มารู้ลึกรู้จริงจากลุงหมอเต้อ @pluster katoaw ของเรานี่แหละว่ามันสำคัญจริงๆ 💩ช่วยทั้งลดน้ำหนักและลด LDL (ไขมันที่เค้าว่าเลว)ด้วย
บ้าาาา ป้าโม้น่า
อ้าว อันนี้มาจากลุงหมอผู้ถ่ายวันละ 5 รอบ ลำไส้สะอาด หน้าใส อ่อนกว่าวัย ลุงหมอบอกว่า
โคเลสเตอรอล(Cholesterol)ส่วนใหญ่ในเลือดของเราจะอยู่ใน LDL ส่วน HDL มีโปรตีนมากมีโคเลสเตอรอลน้อย HDL จะทำหน้าที่ลาก LDL ไปที่ตับ ตับสามารถเอาโคเลสเตอรอลใน LDL ออกไปสร้างเป็นน้ำดีตลอดสูงถึงวันละ 500 มิลลิกรัม (**ตับเป็นอวัยวะเดียวที่กำจัดโคเลสเตอรอลออกจากร่างได้)
พอเราย่อยไขมันก็จะต้องใช้น้ำดีที่สร้างขึ้นนี้ ต่อจากนั้นน้ำดีก็จะไหลไปปะปนกับกากอาหาร และออกจากร่างกายในรูปของอุจจาระ ...แต่ร่างกายจะไม่ยอมสูญเสียโคเลสเตอรอล เพราะจริงๆแล้วมันคือของดีมีประโยชน์ มันจะดูดน้ำดีกลับไปหมุนเวียนใช้ใหม่
ดังนั้นถ้าเราไม่มีเนื้อกากอาหาร หรือไม่ยอมอึก็เท่ากับให้การดูดกลับน้ำดีไปใช้ใหม่เกิดได้เกิดดี โคเลสเตอรอลก็จะไม่ออกจากร่าง (LDL ก็เลยสูงต่อไปและสูงขึ้นอีก) แต่ถ้าเราเร่งการอึ เรากินกากใยให้มันซับน้ำดีไว้เยอะๆ เวลาในการดูดกลับน้อยแถมมีตัวซึมซับมาก ร่างเรามันก็จะดูดกลับ โคเลสเตอรอลได้น้อยเลยทิ้ง โคเลสเตอรอลออกได้มากพร้อมกับอึทุกรอบ
สรุปว่า พออึเยอะ ก็เลยลด LDL ทางอ้อมได้
อย่างที่เราย้ำกันเสมอว่าชาวคีโตควรทานผักเยอะๆ🥗 แต่บางคนก็บ่นว่าท้องผูก แก้ตามนี้นะคะ
1.🥙ทานผักเยอะๆ หรืออาหารที่มีกากใยมาก - อัดผักเข้าไปค่ะ ควรให้ได้อย่างต่ำวันละ 400 กรัม
2.ทานเกลือทั้ง 3 ตัวทุกวัน โดยเฉพาะแมกนีเซียม 300 มก. เพราะมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อในระบบขับถ่ายทำงาน มีกากแต่ลำไส้ไม่บีบตัว ก็ค้างอยู่อย่างนั้นแหละ
3.ทานโพรไบโอติกส์(Probiotics)หรือแบคทีเรียดีในลำไส้ ที่ช่วยในระบบย่อยอาหาร เช่น กิมจิ, กรีกโยเกิร์ต,คอมบูชา, คีเฟอร์, ถั่วเน่า, ผักดอง
และพรีไบโอติกส์(Prebiotics)หรืออาหารของแบคทีเรียดีข้างต้น เช่น แป้งกล้วยดิบ, แป้งมันฮ่องกง(แป้งมันฝรั่ง), แป้งมันสำปะหลัง แป้งเหล่านี้เรียกว่าแป้งทนการย่อย (resistant starch #RS) ซึ่งร่างกายเราไม่ย่อย ทานไปก็จะไปเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้โดยตรง แต่มีข้อแม้ว่าห้ามผ่านความร้อน ไม่งั้นแป้งจะสุก องค์ประกอบทางเคมีเปลี่ยนไป กลายเป็นคาร์บให้เราเลย
4.💦ดื่มน้ำมากๆ ผู้หญิงประมาณวันละ 3 ลิตร ผู้ชายประมาณวันละ 4 ลิตร ตามคำแนะนำของ Institute of Medicine (IOM) (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/articles/PMC2908954/table/T5/) โดยปริมาณนี้รวมเครื่องดื่มและอาหารด้วย อย่าดื่มน้ำรวดเดียวเยอะๆ ค่อยๆดื่มไปทั้งวันค่ะ
5.🏃🏻♀️ออกกำลังกายบ้าง ช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น